รับบริการเป็นที่ปรึกษา เรื่อง อะการ์วู๊ด เฉพาะด้าน

Agarwood "Wood Of Gods"

รับบริการเป็นที่ปรึกษา เรื่อง อะการ์วู๊ด เฉพาะด้าน โดยทีมงาน นักวิจัย แพทย์ เภสัช นักเคมี และป่าไม้ ที่สังคมต่างประเทศให้การยอมรับทั่วโลก

Rounded Image
Rounded Image

Specialized consulting services on “Agar wood”


สิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรนั้นจะต้องมีการจดทะเบียนตามกฏหมายเสียก่อน จึงจะมีสิทธิ ดังนี้ มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ในการที่จะผลิต ใช้ ขาย และมีสิทธิ์ที่จะใช้คำว่า “สิทธิบัตรไทย” หรืออักษร “สบท.” ให้ปรากฏในหีบห่อหรือในการประกาศโฆษณาได้ มีสิทธิที่จะอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิในการนำการประดิษฐ์มาทำการผลิต ใช้ ขาย หรือ ใช้คำว่า “สิทธิบัตรไทย” ได้เช่นเดียวกับผู้ทรงสิทธิบัตร มีสิทธิที่จะโอนสิทธิบัตรของตนให้แก่บุคคลอื่น แต่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรข้างต้น กฎหมายได้กำหนดให้นำมาใช้กับผู้ทรงอนุสิทธิบัตรด้วย เมื่อผู้ทรงสิทธิบัตรมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ตามกฏหมายได้กำหนดไว้ ก็มักจะมีผู้ต้องการจะหาผลประโยชน์จากสิทธิดังกล่าวโดยผิดกฏหมาย และทำให้ผู้ทรงสิทธิบัตรเสียหายนั่นคือ การละเมิดสิทธิบัตร การละเมิดสิทธิบัตร คือ การที่บุคคลใด บุคคลหนึ่งกระทำการใด ๆ ให้ผู้ทรงสิทธิบัตรเสียหายโดยกระทบต่อสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรข้างต้น เช่น ปลอม ทำซ้ำ ดัดแปลง โดยที่ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของสิทธิบัตร ซึ่งการละเมิดสิทธิบัตรนั้น จะมีความผิดทั้งในทางอาญาและในทางแพ่งด้วย โทษทางอาญาตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535 โดยเป็นโทษจำคุก ปรับ ริบ ทรัพย์สินความรับผิดชอบในทางแพ่งอาจต้องชดใช้ค่าเสียหายจากความเสียหายที่ผู้ทรงสิทธิบัตรได้รับ โดยคำนึงถึงความร้ายแรงของความเสียหาย รวมทั้งการสูญเสียประโยชน์และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการบังคับตามสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรหรือผู้ทรงอนุสิทธิบัตร  

หากบุคคลใดที่ไม่ใช่เจ้าของสิทธิบัตร นำการประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์ของผู้ทรงสิทธิไปทำการผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขายหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร หรือใช้คำว่า “สิทธิบัตรไทย” หรือ อักษร สบท. หรืออักษรต่างประเทศที่มีความหมายเช่นเดียวกัน ให้ปรากฏที่ผลิตภัณฑ์ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อของผลิตภัณฑ์หรือในการประกาศโฆษณาการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธิบัตรหรือผู้ทรงสิทธิบัตรที่ได้รับ จดทะเบียนสิทธิบัตรไว้แล้ว โดยเป็นความผิดต่อกฏหมายพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 ที่ได้กำหนดโทษให้การกระทำความผิดดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิบัตรและเป็นความผิดในทางอาญา ตัวอย่างการละเมิดสิทธิบัตร เช่น นาย ก. ประดิษฐ์ใบม่านบังตาประตูเหล็กยืดที่ต่างกับใบม่านที่มีแพร่หลายอยู่แล้วเพียงเล็กน้อยคือ ปลายใบม่านที่มีอยู่แล้วหักมุมทั้งสองด้าน ส่วนใบม่านของผู้ทรงสิทธิบัตรหักมุมด้านเดียว ซึ่งใบม่านของนาย ก. ไม่ปรากฏว่าใช้งานได้ดีกว่าการประดิษฐ์ที่มีอยู่แล้ว จึงไม่ถือว่ามีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น (ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7377/2538) กรณีนี้ถือว่านายก. ละเมิดสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิบัตร ดังนั้นนายก. ย่อมเป็นผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ซึ่งอาจต้องรับผิด โดยริบสิ่งที่ตนเองประดิษฐ์ขึ้น และถูกปรับหรือจำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับและอาจต้องชดใช้ค่าเสียหายในทางแพ่งอีกด้วย

หากผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ผู้ดำเนินกิจการหรือผู้แทนของนิติบุคคลต้องรับโทษตามที่กฏหมายกำหนดสำหรับความผิดนั้นๆ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำของนิติบุคคลนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมนอกจากผู้ทรงสิทธิบัตรจะดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาต่อผู้ละเมิดแล้ว ยังสามารถร้องขอต่อศาลเพื่อขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา โดยขอให้ผู้ละเมิดหยุดกระทำการละเมิดในระหว่างการพิจารณาของศาล เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงของผู้ทรงสิทธิบัตร อีกทั้งหลังจากมีคำพิพากษาแล้ว ศาลอาจมีคำสั่งให้นำสินค้าหรือสิ่งประดิษฐ์ที่อยู่ในครอบครองของผู้ละเมิด เอาไปทำลายหรือดำเนินการอย่างอื่นเพื่อป้องกันมิให้มีการนำเอาสินค้าออกจำหน่ายได้อีก

การละเมิดสิทธิบัตรนั้นเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ การลงโทษผู้ละเมิดสิทธิบัตรจึงค่อนข้างรุนแรงจนอาจถึงขั้นจำคุกได้ เหตุที่กฏหมายได้มีการกำหนดโทษไว้กับผู้ละเมิดสิทธิบัตร ก็เพื่อเป็นการปราบปรามและป้องกันไม่ให้มีการละเมิดสิทธิบัตร แต่ความเป็นจริงแล้ว ผลประโยชน์จากการละเมิดสิทธิบัตรมีมากมาย จนทำให้ผู้ที่กระทำการละเมิดไม่คิดเกรงกลัวต่อบทลงโทษตามกฏหมาย ดังนั้นผู้ประกอบการที่อยู่ในฐานะผู้ทรงสิทธิบัตรจึงต้องมีหน้าที่ปกป้องสิทธิของตนเอง และป้องปรามไม่ให้การละเมิดสิทธิบัตรมาบั่นทอนหรือชะลอการพัฒนาความเจริญของประเทศ